สภาพอากาศ

เตือนระวังพายุฤดูร้อน/ลูกเห็บ/ฟ้าผ่า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 15-17 มี. ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลท่าให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดน่าความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ที่เข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางจะมีก่าลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ท่าให้บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้จะมีก่าลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่่าปกคลุมบริเวณ ประเทศมาเลเซีย ท่าให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น
คำเตือน ในช่วงวันที่ 15–17 มี.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ส่าหรับเกษตรกรเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย


คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 11-14 มี.ค. 65 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ทางด้านตะวันตกของภาคอุณหภูมิต่่าสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 มี. ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่่าสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

– ระยะนี้มีอากาศร้อนอบอ้าวในตอนกลางวัน โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 15-17 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยเฉพาะชาวสวนไม้ผลควรส่ารวจดูแลการค้่ายันกิ่งและล่าต้นไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดโดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนในพืชตระกูลแตง กะหล่่า และผักกาด เป็นต้น


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – ในช่วงวันที่ 11-14 มี.ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่่าสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15
กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15–17 มี.ค. 65อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

– ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 15-17 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย ส่าหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคและกระบือไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่โล่งแจ้ง ในขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เพราะสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนเจาะลำต้นและเจาะฝักในข้าวโพด เป็นต้น


ภาคกลาง – ในช่วงวันที่ 11-14 มี.ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมใต้ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 15-17 มี. ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่่าสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

– ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยในช่วงวันที่ 15-17 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง จากสภาพอากาศในช่วงนี้เกษตรกรที่ปลูกพริก ควรระวังศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยไฟ โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดใบอ่อนและดอก ทำให้ใบหรือยอดอ่อนหงิกงอ หากระบาดรุนแรง พืชจะชะงักการเจริญเติบโต หรือแห้งตายในที่สุด


ภาคตะวันออก – ในช่วงวันที่ 11-14 มี.ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 15–17 มี.ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อุณหภูมิต่่าสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่่ากว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

– ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยในช่วงวันที่ 15-17 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย ส่าหรับชาวสวนไม้ผลควรสำรวจดูแลการค้ำยันกิ่งและลำต้นไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะอาจทำให้ปลาน็อคน้ำตายได้โดยหลังจากฝนตก ควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้่าแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ


ภาคใต้ – ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 11-12 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 มี.ค.65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด4-7 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 11–12 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20–30 ของพื้นที่ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 มี.ค.65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

– ในช่วงวันที่ 13-17 มี.ค. การกระจายของฝนจะมีเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่าหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงและหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ