สภาพอากาศ

ช่วงนี้อากาศแปรปรวน ร้อน-ฝน-หนาวไม่ตรงตามฤดูกาล โปรดรักษาสุขภาพตนเอง-ดูแลผลผลิตภาคเกษตรใกล้ชิด

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรในช่วงวันที่ 23-27 มกราคม 2565 ดังนี้

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 23 –27 ม.ค. ลมฝ่ายตะวันตก ในระดับบนพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทําให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอก ในตอนเช้า ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า

ภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สําหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวล อากาศเย็นกําลังอ่อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกําลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ตลอดช่วง

ดังนั้น ในช่วงวันที่ 23-27 ม.ค. บริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย


#คําแนะนําสําหรับการเกษตร#

ภาคเหนือ นวันที่ 23-27 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9ชม.

– ในช่วงวันที่ 21 – 22 ม.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ทําให้มีอากาศหนาวเย็น สําหรับบริเวณยอดดอยจะมีอากาศหนาว ถึงหนาวจัด และอาจมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่
– เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและระวังป้องกันความ เสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้มเพื่อรักษาอุณหภูมิดินและ รักษาความชื้นภายในดิน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
– สําหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารเพื่อไม่ให้อาหารที่เหลือทําให้น้ำเน่าเสีย
– อนึ่ง ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝนควรลดความชื้นก่อนนําเข้าโรงเก็บ เพื่อปัองกันผลผลิตเน่าเสียหาย


ตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 23-27 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.
– ในช่วงวันที่ 21-22 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
– สําหรับระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำนัอย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืช รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน
– อนึ่ง ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝนควรลดความชื้นก่อนนําเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย


ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 23 -27 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-20 กม./ ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.
– ในช้วงวันที่ 21 – 22 ม.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
– สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ําที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกัน การระบาดของศัตรูพืชจําพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทําให้ ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ


ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 23 – 27 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศา เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม.
– ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแล สภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ําที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ําให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากน้ำมีน้อย จะทําให้สัตว์น้ำอยู่อย่าแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เนื่องจากระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง


ภาคใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22-27 ม.ค. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ สูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด6-8 ชม.

ภาคใต้ ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำ กว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

– ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเชัา เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรกักเก็บน้ําเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ําใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
– สำหรับทางตอนบนของ ภาคสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยโดยทําแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะ บริเวณสวนยางพารา ชาวสวนควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจําเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันไฟลุกลาม รวมทั้งระวังการระบาดของศัตรูพืชจําพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกิน น้ําเลี้ยงจากต้นพืชทําให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
– ส่วนทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวัง และป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจําพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทําให้ต้นพืช ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ