-Economics

สทนช.เปิด 3มาตรการ ฝ่าภัยแล้ง “พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ จากสภาวะฝนตกน้อย” 83 อำเภอ 20 จังหวัด

     เมื่อไม่นานนี้ เพจสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผย ชี้เป้าพื้นที่ 83 อำเภอ 20 จังหวัด เสี่ยงขาดแคลนน้ำจากสภาวะฝนตกน้อย (ข้อมูล ณ วันที่ 23 ก.ค.2562) ประกอบภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน และแพร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ เลย ขอนแก่น กาฬสินธ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่เพชรบูรณ์บางพื้นที่ และประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี โดยวางมาตรการรับมือระยะเร่งด่วน ระยะสั้น และระยะยาว เพื่อบรรเทาและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

มาตรการเร่งด่วน
1.เปิดศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ (สกนช.) บูรณาการกับหน่วยที่เก็ยวข้องและศูนย์ปฏิบัติการใน 4 กระทรวงหลัก (มหาดไทย/เกษตรฯ/กลาโหม,/กระทรวงทรัพยากรฯ) ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งใกล้ชิด
2.ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่เหนือและท้ายอ่างฯ
3.สำรวพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโกค-บริโกค/การเกษตร เพื่อให้ความช่วยเหลือ
4.รณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด
5.ปรับแผนการระบายน้ำจากแหล่งน้ำ เก็บกักน้ำ และวางแผนการใช้น้ำให้เพียพอถึงฤดูแล้งถัดไป
6.สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ และแนวทางการแก้ไขให้นักการเมือง(ส.ส) รับทราบในภาพรวม ตามนโยบายขอรฐบาลอย่างชัดเจน


มาตรการระยะสั้น
1. เร่งรัดการข่อมแขมฝ่ายซะลอน้ำบริเวณต้นน้ำ และขุดลอกเพิ่มความจุแหล่งน้ำ
2 กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร/ประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง (สินเชื่อ/เมล็ดพันธุ์ ลฯ)
3.หน่วยงานเกี่ยวข้องจัดทำแผนงานโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนการปฏิบัติงาน เน้นน้ำเพื่อการอุปโกค-บริโกค เป็นหลัก พร้อมเฝ้าระวังพื้นก็เสี่ยงขาดแคลนน้ำ
4. ปรับแผนการขุดเจาะ/ซ่อมแชมบำรุงรักษาบ่อบาดาล ในพื้นฝนตกน้อยกว่าปกติ


มาตรการระยะยาว
1.เร่งรัดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่เสี่ยง (Area base) และโครงการแหล่งน้ำตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี
2.สกนช. จัดทำทะเบียนแหล่งน้ำ ทะเบียนผู้ใช้น้ำ แผนที่แสดงพื้นที่ชลประทานและพื้นที่รับประโยชน์จากแหล่งน้ำ
3.ปรับแผนแผนการพาะปลูกพืชและปฏิทินการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ