-asean news

รัฐมนตรีอาเซียนเล็งกระตุ้นภาคท่องเที่ยวด้วย”การท่องเที่ยวแบบทวีภาคี”

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2016 หรือโรคโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกต้องหยุดชะงัก เนื่องจากมีการระงับการเดินทาง เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรค แต่เพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ประเทศในอาเซียนจึงกำลังพิจารณาสร้างการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ในยุคโควิด-19 ระบาด ที่เรียกว่า “travel bubbles” ด้วยการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ที่สามารถคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ ในขณะที่โลกยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อไวรัสโคโรนา2019

ทั้งนี้ หลักการคิดของการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า “travel bubbles” หรือ เที่ยวแบบทวิภาค หรือ ระเบียงท่องเที่ยว ง่ายๆ คือ ประเทศใดที่สามารถควบคุมการระบาดของโควิด 19 ได้ จะสามารถเดินทางไปในประเทศที่สามารถควบคุมการระบาดโควิด 19 ได้เช่นกัน โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าจะได้รับการยกเว้นการกักกันตัวที่เรียกว่า Quarantine 14 วัน

จากการประชุมครั้งล่าสุดของกลุ่มที่ปรึกษาด้านการท่องเที่ยวในลุ่มแม่น้ำโขง มีการคุยกันถึงการใช้ การท่องเที่ยวแบบทวิภาคี(travel bubbles) เป็นวิธีในการเริ่มต้นการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค

Hla Myint ผู้อำนวยการ (แผนกส่งเสริมการขาย) กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวของพม่า กล่าวในการประชุมรัฐมนตรีของอาเซียนเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า มีการหารือกันถึงกลยุทธ์ในการฟื้นฟูการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงความจำเป็นในการพัฒนามาตรการที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเด็นต่างๆ เช่น การประกันสุขภาพ การแนะนำการท่องเที่ยวแบบทวิภาคีหรือ travel bubbles คล้ายกับการดำเนินการที่จีนและเกาหลีใต้ทำร่วมกัน ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาคุยเช่นกัน

โดยเมื่อวันที่1พฤษภาคมที่ผ่านมา มีการเปิดการเดินทางแบบทวิภาคี สำหรับนักธุรกิจ ที่เดินทางไปมาระหว่าง 10 ภูมิภาคของจีนและเกาหลีใต้ ด้วยเงื่อนไขคือพวกเขาต้องได้รับการตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด-19 และผลต้องออกมาเป็นลบ ก่อนออกเดินทางและเมื่อเดินทางมาถึง

Hla:กล่าวว่าการท่องเที่ยวแบบทวิภาคีหรือ Travel bubbles อาจจะเริ่มต้นกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่าและจีน, ลาวและไทย ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือ เราไม่จำเป็นต้องมีการกักตัว14วัน ดังนั้นเราจึงต้องหารือรายละเอียดเพิ่มเติมและพัฒนาระบบระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน

ขณะที่ Xu Jing อดีตผู้อำนวยการ UNWTO กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะกลาง เราต้องดูที่การเดินทางแบบทวิภาคี คือจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เราสามารถใช้ประเทศจีนเป็นตัวอย่างได้ เนื่องจากการเดินทางภายในประเทศจีนก็เหมือนการเดินทางทางไกลระหว่างประเทศ เราสามารถใช้สิ่งนี้เพื่อปรับให้เข้ากับประเทศเพื่อนบ้านได้