สภาพอากาศ

เฝ้าระวังอากาศร้อนถึงร้อนจัด มิถุนายน 2564 เหตุฝนตกน้อย

เฝ้าระวังอากาศร้อนถึงร้อนจัดมิถุนายน 2564 เหตุฝนตกน้อย เมฆจึงไม่ค่อยมี ทำให้แสงแดดส่งลงมาได้เต็มที่เช้ายันเย็น

คาดว่าเดือนนี้เดือนมิถุนายน อากาศจะร้อนกว่าเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา อุณหภูมิสูงสุด 39-41องศาเซลเซียส ฝนน้อยและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นลมฤดูฝนพัดมาเบาไม่ค่อยแรง เป็นเหตุอากาศจึงร้อนกว่าเดือนเมษายน พฤษภาคม ช่วงเมษายนที่ผ่านมาอากาศไม่ร้อนเพราะมีฝนตกชุกฝนตกทั้งเดือน มีเมฆมากทำให้แสงแดดลงมาน้อย

เมื่อฝนตกน้อยก็ทำให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านลงมาบนพื้นผิวดิน ความร้อนสะสมตัวทั้งบนพื้นถนนและอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ โดยเฉพาะในเมืองที่มีตึกสูงจำนวนมาก เช่น กรุงเทพมหานครได้รับแสงอาทิตย์เต็มที่ บวกกับกระแสลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่เป็นลมฤดูฝนพัดมาน้อยลง เป็นเหตุให้เดือนพฤษภาคมมาถึงต้นเดือนมิถุนายน อากาศจึงร้อนกว่าเดือนเมษายนที่เป็นฤดูร้อนมากกว่า อุณหภูมิกลางแดดหรือกลางแจ้ง ช่วงกลางวันจะสูงอาจจะสูงกว่านกว่าปกติ

ถ้ามรสุมพัดไม่แรงพอ จะทำให้ส่วนมากฝนนั้นจะตกฝั่งรับลมมรสุมหน้าเขา พื้นที่หลังเขาฝนจะน้อยช่วงนี้ ช่วงนี้ถ้าจะให้มีฝนเยอะต้องมีหย่อมอากาศต่ำกำลังแรงและพายุเคลื่อนผ่านเข้ามา

คาดว่าฝนจะทิ้งช่วงกลางเดือน มิ.ย.-กลางเดือนก.ค. ถ้าไม่มีพายุเข้ามาเลยก็ต้องบริหารจัดการน้ำให้ได้ช่วงนี้ เพื่อใช้ในการเกษตร

ช่วงกลางเดือน ก.ค.- ก.ย. ฝนจะกลับมาตกชุกกับมีฝนหนักหลายพื้น

ช่วงนี้อาจทำให้มีน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากรวมทั้งน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่ แต่ในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนกลางเดือน มิ.ย.-กลางเดือนก.ค. ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง อาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตรในบางแห่ง โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน

คาดว่าพายุฤดูปีนี้จะใกล้เคียงปีที่แล้ว ฝนจะเยอะครึ่งหลัง

คาดว่าพายุหมุนเขตร้อนจะเข้าสู่ประเทศไทย 2-3 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือน ส.ค. หรือ ก.ย.
หมายเหตุ ช่วงวันที่ 6 มิถุนายน 2564 – 12 มิถุนายน 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ชาวเกษตรควรเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ในการทำเกษตร ช่วงฝนทิ้งช่วงที่จะถึงมานี้