-commerceEconomics

พาณิชย์ออก 3 มาตรการ ช่วย”กะทิไทย” ใส่รหัสบนบรรจุภัณฑ์ตรวจสอบที่มาของมะพร้าว

กระทรวงพาณิชย์,นนทบุรี(8 กรกฎาคม 2563) เมื่อเวลา 17.30 น.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมประชุมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่องานส่งออกผลิตภัณฑ์มะพร้าว กรณี PETA โดยใช้เวลา กว่า 3 ชม.หลังจากนั้นนายจุรินทร์ได้ร่วมแถลงข่าวกับองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคเอกชน เช่น นายเกียรติศักดิ์ เทพผดุงพรกรรมการบริหารบริษัทเทพผดุงพรมะพร้าวจำกัด (กะทิชาวเกาะ) และ ตัวแทนสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปนางสาวศศิวรรณ นวลศรี ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดอาวุโส (ยี่ห้ออร่อยดี) บริษัทไทย อกริ ฟู๊ด จำกัด (มหาชน) นายธีรวุฒิ สุวัธนะเชาว์ ผอ.กองการสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบุญยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายสมเด็จ สุขสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ ห้องประชุมสำนักปลัด กระทรวงพาณิชย์

นายจุรินทร์ กล่าวว่า เนื่องจากผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากประเทศไทย เช่น ชาวเกาะ อร่อยดี เป็นต้น ได้ถูกนำออกจากชั้นวางในห้างสรรพสินค้าบางแห่งในประเทศอังกฤษ สันนิษฐานว่ากังวลในเรื่องที่คิดว่า 2 บริษัทนี้ รับซื้อมะพร้าวจากสวนที่ใช้แรงงานลิง และเกรงว่าถ้าไม่มีการดำเนินการใดๆอาจมีผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นๆหรือห้างสรรพสินค้าอื่นๆ ได้มีการหารือร่วมกันกับภาคเอกชนประกอบด้วยสมาคมอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปของไทย และตัวแทนจากกะทิทั้ง 2 ยี่ห้อ และภาคเอกชนส่วนหนึ่งมาร่วมประชุมด้วย และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการพิทักษ์สัตว์ในประเทศไทย ได้ข้อสรุปถึงแนวทางที่ควรจะได้มีการดำเนินการต่อไป 2-3 ประการ

ประการที่ 1 ภาคเอกชนหรือโรงงานผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวได้ให้ข้อมูลว่าจากนี้ไปจะได้มีการกำหนดมาตรการที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ชัดเจน ที่ผลิตภัณฑ์กล่องหรือบรรจุภัณฑ์ว่าผลิตจากมะพร้าวที่มาจากสวนไหน มีการใช้แรงลิงหรือไม่ โดยใส่รหัสลงบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดลงไปเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

ประการที่ 2 เพื่อให้ผู้ผลิตผู้นำเข้า และผู้กระจายสินค้าหรือตัวแทนห้างสรรพสินค้าต่างๆที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวของประเทศไทยได้รับทราบกระบวนการทางด้านการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ จากสวนไปถึงปลายน้ำว่าดำเนินการเช่นไร จะได้มีการเชิญตัวแทนเอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆที่ประจำอยู่ในประเทศไทยรวมทั้งสื่อมวลชนและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพิทักษ์สัตว์เข้าร่วมตรวจสอบด้วย เมื่อสถานการณ์โควิดหมดไปสามารถเชิญผู้นำเข้า ผู้กระจายสินค้า และตัวแทนห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ รวมทั้งในส่วนอื่นๆ เดินทางเข้ามาได้ก็จะได้กันในการต่อไปอีกขั้นตอนหนึ่ง

ประการที่ 3 ในส่วนของทีมไทยแลนด์ที่ประจำอยู่ต่างประเทศได้ช่วยกันทำคำชี้แจงและนัดพบผู้นำเข้าห้างสรรพสินค้าต่างๆที่เป็นลูกค้าผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวของประเทศไทยทำความเข้าใจต่อไป

ด้าน นายเกียรติศักดิ์ กล่าวว่าห้างสรรพสินค้าหลายห้างเริ่มทยอยเอาสินค้าลงจากชั้นวาง และบางห้างเริ่มควบคุมสินค้า จะกระทบนอกจากประเทศอังกฤษในโซนยุโรป แต่ละบริษัทเริ่มถามรวมถึงอเมริกาและออสเตรเลียเริ่มจะถามปัญหานี้กับเรา สำหรับตัวเลขเท่านั้น ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเสียหายยังไม่ทราบชัดเจน และในภาคอุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกมีการทำ MOU กับผู้ส่งวัตถุดิบทุกรายว่าไม่รับซื้อมะพร้าวที่ใช้ลิงเก็บ

นางสาวศศิวรรณ นวลศรี ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดอาวุโส (ยี่ห้ออร่อยดี) บริษัทไทย อกริ ฟู๊ด จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อร่อยดีมีการทำเอ็มโออยู่กับเกษตรกรและคนที่ส่งและเพิ่มเติมทีมงานที่จะไปตรวจสอบที่สวดให้เข้มข้นมากขึ้นเช่นเดียวกันและการตรวจสอบย้อนกลับบนบรรจุภัณฑ์ก็จะมีวันที่และเวลาว่ามาจากผู้จัดส่งรายใด และภาคอุตสาหกรรมยืนยันในนามของผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปมีผู้ผลิตข้าวที่ไหนไปไทยประมาณ 15 โรงงานและโรงงานอยู่ในกลุ่มคิดว่าในกลุ่มเก้าโรงงานที่เป็นสมาชิกแปดถึง 90% ของประเทศแล้วยืนยันว่าในส่วนโรงงานเหล่านี้ไม่ได้ใช้ลิง

นายบุญยฤทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องเข้าใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของไม่ใช่มาตรการของรัฐของต่างประเทศ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้จึงไม่ใช่การกีดกันทางการค้าที่อยู่ในกรอบกติกาการค้าสากลเป็นเรื่องของภาคเอกชนกับภาคเอกชน

ด้าน กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นายสมเด็จ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมที่เราจะนำพาทูตต่างๆที่ประจำอยู่ในประเทศไทย รวมถึงองค์กรอิสระต่างๆที่จะลงพื้นที่เข้าไปดูกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำอยู่ในการทำข้อมูลว่าจะไปที่ไหนที่มีความเหมาะสม ต้องไปในพื้นที่ที่มีกระบวนการที่มีวัตถุดิบ จนถึงกระบวนการในการนำไปสู่กระบวนการผลิต

ส่วน กรมปศุสัตว์ ระบุว่า ในเรื่องของการใช้ลิงนั้น ประเทศไทย มีพรบ.ป้องกันการทารุณกรรม 2557 มีมาตรการรับข้อร้องทุกข์กล่าวโทษอยู่แล้ว และในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้ลิงเกี่ยวกับความทรมาน แต่มีเฉพาะการทำร้ายหนึ่งในธรรมชาติแต่ก็ถูกดำเนินคดี ถ้ามีการร้องเรียนหรือร้องทุกข์ขึ้นมากรมก็จะส่งข่าวเจ้าหน้าที่เข้าไปสอบสวน

สำหรับ ยอดการส่งออกกะทิของไทย โดยรวม ในปี 2562 รวมอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท โดยส่งไปอังกฤษประมาณ 1000 ล้านบาทคิดเป็นประมาณร้อยละ 8