-บทความ

มีผลบังคับใช้แล้ว พระราชกฤษฎีกา กำหนด 22ลุ่มน้ำใหม่ของไทย

เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2564 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศพระราชกฤษฎีกา กำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ.2564 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้ ให้กำหนดลุ่มน้ำของประเทศไทยเป็น 22 ลุ่มน้ำ

ทั้งนี้ 22 ลุ่มน้ำใหม่ ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1-4 ประกอบด้วย

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 1 ที่ทำการตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง รับผิดชอบพื้นที่ในลุ่มน้ำภาคเหนือ ได้แก่

1.ลุ่มน้ำสาละวิน

2.ลุ่มน้ำโขงเหนือ

6.ลุ่มน้ำปิง

7.ลุ่มน้ำวัง

8.ลุ่มน้ำยม

9.ลุ่มน้ำน่าน

– สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 2 ที่ทำการตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี รับผิดชอบพื้นที่ในลุ่มน้ำภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่

10.ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

11.ลุ่มน้ำสะแกกรัง

12.ลุ่มน้ำป่าสัก

13.ลุ่มน้ำท่าจีน

14.ลุ่มน้ำแม่กลอง

15.ลุ่มน้ำบางปะกง

16.ลุ่มน้ำโตนเลสาบ

17.ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก

18.ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์

– สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 3 ที่ทำการตั้งอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น รับผิดชอบพื้นที่ในลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่

3.ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ

4.ลุ่มน้ำชี

5.ลุ่มน้ำมูล

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 4 ที่ทำการตั้งอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี รับผิดชอบพื้นที่ในลุ่มน้ำภาคใต้ ได้แก่

19.ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน

20.ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

21.ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง

22.ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก

**การเรียงลำดับลุ่มน้ำอ้างอิงที่ประกาศในพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ.2564**

พระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ. 2564

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/2564/A/012/T_0001.PDF

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 1-4 มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

(1) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการลุ่มน้ำและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง

(2) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำแผนแม่บทการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ

(3) ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรผู้ใช้น้ำในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางน้ำในเขตลุ่มน้ำเพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บทการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ

(4) กลั่นกรองและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการลุ่มน้ำเกี่ยวกับการอนุญาตการใช้น้ำและการเพิกถอนใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สอง

(5) ส่งเสริมและติดตามการใช้น้ำประเภทที่สองในเขตลุ่มน้ำให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการลุ่มน้ำ

(6) เสนอมาตรการป้องกันการขัดแย้งและแนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้น้ำในเขตลุ่มน้ำต่อคณะกรรมการลุ่มน้ำ

(7) ปฏิบัติงานอื่นตามที่เลขาธิการมอบหมาย.